แนวคิด

                       วิทยานิพนธ์หัวข้อ “ไทยบูชาร่วมสมัย” ผลงานที่สร้างสรรค์แสดงออกถึงเรื่องราวของ เครื่องบูชาจากความเชื่อของผู้คนที่ขาดความเชื่อมั่นในการดำรงชีวิต วัตถุบูชาจึงมีส่วนสำคัญในการดำเนินชีวิตอย่างมาก ความเชื่ออันแรงกล้าเหล่านี้เป็นสิ่งที่ผู้สร้างสรรค์ได้คิด วิเคราะห์ถึงความสำคัญ คุณค่า ตลอดจนการสร้างสรรค์ออกมาเป็นผลงานที่สะท้อนให้เห็นมุมมองเล็กๆ ที่ต้องการแสดงออก ทางความคิดและอารมณ์ความรู้สึกและสร้างปฏิสัมพันธ์ให้กับผู้ชมงานได้คิดตระหนักถึงความจริงของ ความเชื่อกับความงมงาย ขอบเขตของการศึกษาแบ่งเป็น 3 ส่วนได้แก่ 1) ขอบเขตด้านเนื้อหา ศึกษา ความเชื่อเรื่องการบนบานสานกล่าวซึ่งเป็นธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ และถือว่าเป็นวัฒนธรรมของมนุษย์อย่างหนึ่งต่อการดำรงชีวิต ที่ส่งผลต่อจิตใจและอารมณ์ความรู้สึกโดยตรง 2) ขอบเขตด้านรูปแบบ เป็นการศึกษาผลงานของศิลปินในรูปแบบเหมือนจริง ซึ่งเป็นรูปแบบและแรงบันดาลใจใน การสร้างสรรค์ผลงานชุดนี้ 3) ขอบเขตด้านเทคนิค เป็นการศึกษาผลงานของศิลปินที่เป็นแรงบันดาล ใจในด้านการใช้เทคนิคสีน้ำมันบนผืนผ้าใบเพื่อเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์ผลงาน
                       วิทยานิพนธ์หัวข้อ “ไทยบูชาร่วมสมัย” การสร้างสรรค์ผลงานมุ่งเน้นเพื่อนำเสนอของ เซ่นไหว้ที่มีความร่วมสมัยแตกต่างจากเครื่องเซ่นไหว้ในอดีต โดยผ่านมุมมองที่เฉพาะตนของผู้ สร้างสรรค์ ถ่ายทอดเป็นผลงานจิตรกรรม 2 มิติ ในรูปแบบเหมือนจริง เทคนิคสีน้ำมันบนผ้าใบ จำนวน 4 ชิ้น ซึ่งผลงานทั้ง 4 ชิ้น สามารถแสดงออกในเนื้อหาที่เข้าใจได้ง่าย ผลงานมุ่งเน้นแสดงออก ถึงความงามที่มาพร้อมกับความลึกลับ สะท้อนความศรัทธาที่มีไม่เสื่อมคลายในความกตัญญูของคนไทยต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และสะท้อนความเปลี่ยนแปลงทางสังคมผ่านเครื่องเซ่นไหว้เหล่านี้

ภาพผลงาน

ชื่อภาพ : -

เทคนิค : สีน้ำมันบนผ้าใบ
ขนาด : 140 x 177 ซม.

ชื่อภาพ : -

เทคนิค : สีน้ำมันบนผ้าใบ
ขนาด : 140 x 200 ซม.

ชื่อภาพ : -

เทคนิค : สีน้ำมันบนผ้าใบ
ขนาด : 126 x 187 ซม.

ชื่อภาพ : -

เทคนิค : สีน้ำมันบนผ้าใบ
ขนาด : 136 x 160 ซม.